นายดนุพร ปุณณกันต์ (เกิด 3 กันยายน พ.ศ. 2514) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กรรมการผู้จัดการบริษัททูทเวนตี้ทรี จำกัด เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีใน ครม.ทักษิณ 2 อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นอดีตนักแสดงที่มีชื่อเสียง
นายดนุพร ปุณณกันต์ มีชื่อเล่นว่า บรู๊ค เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เหลือพร และนางดาริกา ปุณณกันต์ เป็นหลานชายของ พลเอกพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง นอกจากนี้นายดนุพรยังเป็นน้องชายของ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552 นายดนุพรได้เข้าพิธีสมรสกับ นางสาวสุวนันท์ คงยิ่ง (กบ) หลังจากที่คบหาดูใจกันมานานกว่า 10 ปี และปัจจุบันมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ ณดา - ปุณณดา ปุณณกันต์ คลอดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2554 ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เวลา 8 โมงเช้า ด้วยน้ำหนักตัว 3020 กรัม และล่าสุด สุวนันท์ได้ให้กำเนิดบุตรคนที่2 เป็นเพศชายให้ชื่อว่า "น้องปุญณดล ปุณณกันต์" ที่โรงพยาบาลสมิติเวช เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2557 ด้วยน้ำหนักตัว 2,805 กรัม โดยปุญณดล มีความหมายว่า "ผู้ที่เกิดจากบุญ
นายดนุพร จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรี และปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์สาขาการปกครอง จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จบปริญญาตรีใบที่ 2 จากมหาวิทยาลัยแอนติออก เมืองซีแอตเติล และจบปริญญาโทใบที่ 2 สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยซีแอตเติล
เป็นนักแสดงในสังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่ปี 2541 - 2548 (เป็นเวลา 8 ปี) ละครเรื่องแรก ลูกตาลลอยแก้ว ปี พ.ศ. 2541 แล้วเรื่องสุดท้ายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 คือเรื่อง พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว ปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันเป็นนักการเมืองแล้ว
นายดนุพร เริ่มงานการเมืองด้วยการเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นการทำงานการเมืองคนละขั้วกับพี่ชาย (นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์) แต่ก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นตำแหน่งแรกในทางการเมือง ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 ในเขตสาธรและยานนาวา กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเลือก โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้าน (พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน) ได้ประกาศบอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง โดยนายดนุพรได้รับเลือกด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละ 20 แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ต้องยกเลิกไปเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร
ภายหลังจากการยุบพรรคไทยรักไทย นายดนุพร ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งใน เขต 7 กรุงเทพมหานคร (บางกะปิ, สะพานสูง, มีนบุรี และ ลาดกระบัง) ในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้นายดนุพรยังได้ดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน ร่วมกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย และตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปี รวม 109 คน (พรรคพลังประชาชน 37 คน,พรรคมัชฌิมาธิปไตย 29 คน และพรรคชาติไทย 43 คน) นายดนุพร จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และยังได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่โฆษกคณะทำงานเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านอีกด้วย
และในการเลือกตั้งปี 2554 นี้ นายดนุพร ได้ย้ายมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ อันดับที่ 62 ของพรรคเพื่อไทย โดยไม่ได้รับเลือก แต่เนื่องจากนายบัณฑูร สุภัควณิช ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เนื่องจากไปเป็นข้าราชการการเมือง เลยส่งผลให้นายดนุพร ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้นายดนุพร ได้หาเสียงเพื่อช่วยผู้สมัครพรรคเพื่อไทย เรียกร้องว่าถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงลำดับ 1 แล้วไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ขอให้ลุกขึ้นมาสวมเสื้อแดงแล้วไปราชประสงค์กันอีกรอบ และเรียกร้องว่าทำไมกรณี 91 ศพ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจึงไม่รับผิดชอบ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 87
อำนวย ไชยโรจน์ • หม่อมหลวงขาบ กุญชร • อาจศึก ดวงสว่าง • นิสสัย เวชชาชีวะ • วีระ มุสิกพงศ์ • วีระ มุสิกพงศ์ • กำจัด กีพานิช • อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา • สมศักดิ์ ชูโต • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • มีชัย วีระไวทยะ • สุวิทย์ ยอดมณี • ปรีดิยาธร เทวกุล • ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ • วิษณุ เครืองาม • มนตรี เจนวิทย์การ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • อรรคพล สรสุชาติ • สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล • วราเทพ รัตนากร • อรรคพล สรสุชาติ • ยงยุทธ ติยะไพรัช • ศิธา ทิวารี • จักรภพ เพ็ญแข • เฉลิมเดช ชมพูนุท • สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี • ยงยุทธ มัยลาภ • ไชยา ยิ้มวิไล • วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ฐิติมา ฉายแสง • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ทศพร เสรีรักษ์ • ธีรัตถ์ รัตนเสวี • สรรเสริญ แก้วกำเนิด
(รองโฆษก) ปราโมทย์ สุขุม • ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ • อภิชาติ หาลำเจียก • ประเทือง วิจารณ์ปรีชา • วุฒิ สุโกศล • มนตรี ด่านไพบูลย์ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • ธำรงค์ ไทยมงคล • วิทยา แก้วภราดัย • อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ • เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ • อำนาจ ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สมชาย เพศประเสริฐ • สุนัย จุลพงศธร • กนลา ขันทปราบ • สมชาย สหชัยรุ่งเรือง • สาคร พรหมภักดี • ปาน พึ่งสุจริต • รัตนา จงสุทธนามณี • ณหทัย ทิวไผ่งาม • ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ • กุเทพ ใสกระจ่าง • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • ภูมิ สาระผล • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ต่อพงษ์ ไชยสาส์น • ยุรนันท์ ภมรมนตรี • เฉลิมชัย มหากิจศิริ • ดนุพร ปุณณกันต์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ศุภรัตน์ นาคบุญนำ • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส • พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ • ศุภชัย ใจสมุทร • ศุภรักษ์ ควรหา • วัชระ กรรณิการ์ • ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ • มารุต มัสยวาณิช • อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด • อนุตตมา อมรวิวัฒน์ • ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา • ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ • สุณิสา เลิศภควัต • สรรเสริญ แก้วกำเนิด • วีรชน สุคนธปฏิภาค